วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สุขศึกษา บทที่ 4 - 12

บทที่ 4 ฝันร้าย
    ความหมายและประเภทของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
การล่วงละเมิดทางเพศ หมายถึง พฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือสายตา การแสดง

ท่าที
ที่ส่อถึงเจตนาการล่วงละเมิดทางเพศ การกระทำอนาจาร รวมไปจนถึงการบังคับให้มีเพศสัมพันธ์

    ประเภทของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
อาจกระทำได้หลายลักษณะ ทั้งในลักษณะของการกระทำที่ไม่รุนแรง เช่น การล่วงละเมิดด้วยคำพูด การ

สัมผัส
การแอบดูหรืออาจเป็นการกระทำที่รุนแรง เช่น บังคับให้มีเพศสัมพันธ์ การข่มขืน

    การล่วงละเมิดทางเพศที่พบอยู่ในสังคมแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การล่วงละเมิดทางเพศ ทางคำพูด
   - การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยงกับรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย ที่ส่อในทางลามก
   - การเลาเรื่องตลกลามก
   - การตามจีบ ตามตื๊อ ทั้งๆที่อีกฝ่ายไม่ชอบ
   - การพูดจาแทะโลม
   - การใช้คำพูดเพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
2. การละเมิดทางเมิดทางการกระทำที่ไม่ถูกเนื้อต้องตัว
   - การล่วงเกินด้วยสายตา
   - การล่วงเกินด้วยกิริยาท่าทาง
   - การส่งจดหมาย
   - การแอบดูตามห้องน้ำ
   - การแอบถ่ายภาพ
   - การโชว์ภาพโป๊
   - การโชว์อวัยวะเพศ
   - การเผยแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต
3. การล่วงละเมิดทางเพศที่เป็นการกระทำที่ชัดแจ้ง
   - การแตะเนื้องต้องตัวที่ไม่พึงประสงค์
   - การกระทำอนาจารอื่น
   - การขอมีเพศสัมพันธ์
   - การบังคับให้มีเพศพันธ์
   - การข่มขืน

    สาเหตุของการล่วงละเมิดทางเพศ
1. การแต่งกายล่อแหลมไม่เหมาะสม
2. สื่อต่างๆ ทั้งสิ่งที่ตีพิมพ์ วิดีทัศน์ลามก
3. ผู้ล่วงละเมิดทางเพศบางรายอาจมีความความปกติของจิตใจ
4. การติดสารเสพติด อบายมุข เป็นเหตุให้ขาดสติ
5. ความใกล้ชิด
6. ความคึกคะนอง
7. แหล่งบันเทิง

    ผลกระทบจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
1. ผลกระทบทางร่างกาย
   - ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศอาจได้รับบาดเจ็บ บอบช้ำทางร่างกาย ผู้หญิงอาจจะตั้งครรภ์โดยไม่พึงไม่สงค์
2. ผลกระทบทางจิตใจ
   - มีปัญหาเกี่ยวกัยภาวะเครียด
   - สูญเสียคุณค่าในตนเอง
   - มีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
   - มีทัศนสติ
   - สั่งสมคสามรู้สึกหวาดกลัว
3. ผลกระทบต่อสังคม
   - ประสิทธิภาพในการเรียน
   - นักเรียนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศที่รุนแรง อาจต้องย้ายโรงเรียน ย้ายที่อยู่ ขาดโอกาสในชีวิต เสียอนาคต
   - หากผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศยังอยู่ในวัยเด็ก และเกิดการ เด็กที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตรย่อมเกิดปัญหา

    การป้องกันและหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
1. บอกให้ผู้ใหญ่รับรู้เสมอว่าจะไปไหน
2. ไม่แต่งกายยั่วยุ
3. วางตัวให้เหมาะสมโดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม
4. ควรระมัดระวังเมื่อต้องอยู่ตามลำพังในที่ลับตาคน
5. การไปโรงดรียนใยวันหยุด ไม่ควรอยู่คนเดียวหรือกลับบ้านค่ำ
6. ในโอกาสพิเศษที่มีคนจำนวนมากเข้าออกในโรงเรียน
7. ไม่ควรพาตนเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
8. เมื่ออยู่บ้านคนเดียวควรปิดประตูบ้าน และไม่ควรเปิดให้กับคนที่ไม่รู้จัก
9. หารนักเรียนเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ ควรบอกผู้ใหญ่ที่นักเรียนไว้ใจ
10. ฝึกทักษะการป้องกันตัวเองอย่างง่ายๆ

    การป้องกันตัวเองโดยใช้เทคนิคการใช้อวัยวะเป็นอาวุธ
1. เมื่อจะถูกลวนลามหรือทำร้าย
   - ระวังมิให้ผู้ลวนลามเข้ามาประชิดตัวเกิน 2 ก้าว ตั้งสติและหาโอกาสป้อนกันตัว
   - แต่ถ้าผู้ลวนลามเข้ามาประชิดเกิน 2 ก้าว ให้ถีบเท้าซ้ายหรือขวาไปที่กระดูกขาท่อนบนหัวเข่าหรือหน้าแข้ง
     ของคนร้าย
2. เมื่อถูกผู้ลวนลามจับมือเราไว้ข้างหนึ่งขณะนั่งหรือยืน
   - ใช้มือข้างที่เหลือจับนิ้วก้อยมือที่ลวมลามจับเราอยู่หักกลับขึ้นอย่างแรงและเร็ว
3. ผู้ลวนลามเข้ามาจับมือทั้งสองข้างหน้าด้าน
   - ดึงมือกลับ โดยมิดข้อมือขึ้นให้ฝ่ามือหันหากันแล้วดึงมือเข้าหาตัว
   - เมื่อมือหลุดเป็นอิสระ ให้ตวัดมือข้างที่ถนัดขึ้นสูง แล้วใช้ฝ่ามือฟาดลงบนดั้งจมูกผู้ลวนลามอย่างแรง
   - เตะหน้าแข้งหรือหัวเข่าบองผู้ที่ลวนลามอย่างแรงอีกทีแล้ววิ่งหนี
4. ผู้ลวนลามเข้ามาจับมือทั้งสองด้านหลัง
   - เมื่อผู้ลวนลามจับมือทั้งสองข้างด้านหลัง ให้เกร็งข้อมือ แล้วดึงไปข้างหน้า
   - ให้เหลียวดูเข่าของผู้ลวนลามแล้วถีบไปที่หัวเข่าอย่างแรงแล้ววิ่งหนี
5. ผู้ลวนลามบีบคอด้านหน้า
   - ถ้าถูกผู้ลวนลามบีบคอด้านหน้าให้เกรีงลำคอไว้และประสานข้อมือยกขึ้น กระแทกมือผู้ลวนลามออกจาก

กัน
     พร้อมกระแทกส้นเท้าที่หน้าแข้งผู้ลวนลามแรงๆหลายๆครั้ง
   - เมื่อผู้ลวนลามปล่อยมือ ให้กระแทกเท้าลงที่หัวเข่าผู้ลวนลามอย่างแรงแล้ววิ่งหนี

    หลักการปฐิเสธ
1. ตั้งใจให้มั่นคง แน่วแน่ว ว่าจะต้องปฐิเสฐจริงๆ
2. พูดปฐิเสธด้วยน้ำเสียงและทาทางจริงจัง
3. เมื่อปฐิเสธจบแล้ว รีบเดินออกจากเหตุการณ์นั้นทันที

    หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกละเมิดทางเพศ
1. หน่วยงานราชการ
   - กองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สถานสงเคราะห์
     เด็กราชวิถี ถนนราชวิถี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทรศัพท์ 022468652
2. หน่วยงานเอกชน
   - มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก 185/16 ถนนจรัญสนิทวงศ์ 12 แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหา

นคร
     10600 โทรศัพท์ 024121196

บทที่ 5 อาหารและโภชนาการ

    อาหาร คือ
สิ่งที่เรากินเข้าไปแล้ว เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ให้

พลังงานแก่
ร่างกาย ไม่เกิดโทษแก่ร่างกาย

    ประเทศไทยสามารถแบ่งอาหารออกเป็น 5 หมู่ ดังนี้
หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ซึ่งช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือก มัน น้ำตาล ให้พลังงานแก่ร่างกาย
หมู่ที่ 3 พืชผักต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ
หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้ประโยชน์เช่นเดียวกับหมู่ที่3
หมู่ที่ 5 น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย

    สารอาหาร (Nutrients) คือ สารเคมีที่ประกอบอยู่ในสารอาหารที่ให้คุณค่าต่อร่างกายในด้านต่างๆ
ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ

    โภชนาการ (Nutrition) คือ วิทยาศาตร์สาขาหนึ่งที่ว่าด้วยเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับอาหาร ประโยชน์ของ

อาหาร การเปลี่ยนเเปลงางเคมีของอาหารที่กินเข้าไปให้เป็นสารอาหาร

    คุณค่าของอาหารต่อสุขภาพ
1. สร้างเสริมทำให้ร่างกายเจริญเติบโตการกินอาหารที่ครบส่วน
2. เสริมสร้างอวัยวะของร่างกายที่สึกหรอ
3. ให้พลังงานและความอบอุ่มแก่ร่างกาย
4. ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
5. ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคแก่ร่างกาย

    โภชนบัญญัติ 9 ประการ
1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ
4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
5. ดื่มนมให้เหมาะตามวัย
6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด
8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน
9. งดหรือลดเครื่องแอลกอฮอล์

    การบริโภคอาหารที่เหมาะสมตามวัย
   
    การบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารก
สารอาหารที่ทารกต้องการคือ พลังงานและโปรตีนความต้องการพลังงานและโปรตีนเทียบกับน้ำหนักตัวตัวจะ

สูงมากกว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่

    การบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน
อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน คือ จัดอาหารให้ครบ 5 หมู่ และมีความหลากหลายเพื่อให้เด็กได้

รับสารอาหารครบถ้วน

    การบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน
ในแต่ละวันให้เด็กได้รับพลังงาน 1400 - 1700 แคลอรีในเด็กชาย และ 1400 - 1600 แคลรอรีในเด็กหญิง

    การบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น
1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
2. กินอาหารให้ครบ 3 มื้อ
3. ควรหลีกเลี่ยงการดื่มที่มีสารคาเฟอีน
4. หลีกเลี่ยงการกินขนมขบเคี้ยว

    การบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับวัยทำงาน
1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
2. ใส่ใจต่อการกินอาหารเช้า
3. กินโปรที่ย่อยง่าย
4. น้ำมันที่ปรุงอาหารควรเป็นน้ำมันมะกอกหรทอน้ำมันเมล็ดทานตะวัน
5. ดื่มน้ำให้มากขึ้น
6. กินอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่มมากขึ้น
7. กินธีญพืชและข้าวกล้อง
8. งดอาหารขบเคี้ยว

    การบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ
1. การกินอาหารในแต่ละวันควรแบ่งมื้ออาหารให้มากกว่า 2 มื้อ
2. ควรกินอาหารที่นุ่มๆ มีน้ำเป็นส่วนผสม
3. ให้เวลาในการกินอาหารมากขึ้น
4. ควรเลือกกินอาหารที่มีกากใยมากขึ้น
5. ควรกินอาหารที่มีแคลเซียม
6. ควรกินไข่

บทที่ 6 ปัญหาโภชนาการที่มีผลต่อสุขภาพ

    ความหมายของภาวะทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารเบี่งเบนไปจากปกติ

อาจเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

    ประเภทของภาวะทุพโภชนาการ
1. ภาวะโภชนาการขาด (Undernutrition) หมายถึง สภาวะของร่างกายที่เกิดจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอ
2. ภาวะโภชนาการเกิน (Overnutrition) หมายถึง สภาวะของร่างกายที่เกิดจากการได้รับอาหารในปริมาณ

มากเกินความต้องการของร่างกาย

    สาเหตุของภาวะโภชนาการขาด
1. การเลือกกินอาหาร
2. การจำกัดปริมาณการกินอาหารประจำทุกวัน
3. การขาดแคลนอาหาร
4. การขาดความรู้ทางโภชนาการ
5. การมีโรคประจำตัวตั้งแต่เกิด

    ปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการขาด
1. ภาวะการขาดโปรตีนและพลังงาน
2. ภาวะการขาดวิตามินเอ
   2.1 ไม่ได้บริโภคอาหารที่มีวิตามินเอ
   2.2 การเจ็บป่วย
   2.3 ภาวะขาดโปรตีนและพลังงานอย่างรุนแรง
3. ภาวะเลือดจางเนื่องจากการขาดธาตุเหล็ก
4. ภาวะการขาดไอโอดีน

    การแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการขาด
1. เฝ้าระวังภาวะโภชนาการของตนเอง
2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
3. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย
4. หากนักเรียนคิดว่าตนเองอาจมีโอกาสเสี่ยงจากภาวะการขาดสารอาหารประเภทใดประเภทหนึ่ง ให้นัก

เรียนพยายามกินอาหารเสริมสารอาหารเหง่านั้น

ภาวะโภชนาการเกิน

    ปัญหาที่เกิดสารภาวะโภชนาการเกิน คือ สภาวะที่ร่างกายมีน้ำหนักไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับ

ส่วนสูง

    สาเหตุของการมีภาวะโภชนาการเกิน
1. พฤติกรรมการกินอาหาร
2. กิจกรรมประจำวัน
3. พันธุกรรม
4. เพศ
5. อายุ
6. โรคบางชนิด
7. ความเครียดและการเจ็บป่วย

    ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะน้ำหนักเกิน
1. การหายใจลำบาก
2. ถ้าเป็นอาการรุนแรงอาจมีการนอนกรน หยุดหายใจเมื่อหลับสนิท
3. ปวดขาเวลาเดิน
4. ผิวหนัง มีลักษณะดำคล้ำ และหนา
5. ระดับของไขมันในเลือดผิดปกติ

    การแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกิน
1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
2. กินอาหารให้เป็นเวลา
3. พยายามลดพลังงานหรือไขมันสะสม
4. กินอาหารช้าๆเคี้ยวให้ละเอียด
5. ควรลดของขบเคี้ยวที่เป็นแป้งและมีรสเค็ม หวาน มันจัด
6. พยายามปรับตนเองให้ชอบรสอาหารที่ไม่หวาน ไม่มัน

บทที่ 7 น้ำหนักตัวกับสุขภาพ

    ความสำคัญของการดูแลตนเองและควบคุมน้ำหนักตัว
1. โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน
2. ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญทางชีวเคมีในร่างกาย
3. ปัญหาสุขภาพอ่อนแอ
4. ปํญหาทางสังคมและจิตใจ

    วิธีการประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัว
การประเมินน้ำหนักตัวในเด็ก ใช้ค่าน้ำหนักตัวเปรียบเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์อายุหรือน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วน

สูงเปรียบเทียบกับเกณฑ์อ้างอิง

    กระประเมินน้ำหนักตัวในผู้ใหญ่
การประเมินและวิเคราห์น้ำหนักตัวในผู้ใหญ่ สามารถทำได้โดยการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass

Index : BMI) เป็นหน่วยมาตรฐาน

    วิธีการดูแลและควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
1. กินอาหารสมดุล ควบคุมสัดส่วน
2. กินอาหารเช้าทุกวัน
3. กินอาหารพออิ่ม
4. กินอาหารธรรมชาติที่ไม่แปรรูป
5. กินผักและผลไม้รสไม่หวาน
6. กินอาหารมื้อเย็นห่างจากเวลานอนไม่น้อบกว่า 4 ชม.
7. กินให้น้อยลง
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
9. ประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัวเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ

    การเพิ่มน้ำหนักตัว
1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

    การลดน้ำหนักตัว
1. มีความตั้งใจ
2. สร้างความคิดที่ดี
3. ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ของน้ำหนักที่จะลด
4. ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ
5. อัตราการลดน้ำหนักที่เหมาะสม คือ สัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม
6. ควบคุมพลังงานจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน
7. กินอาหารทุกมื้อ
8. งดของหวาน
9. กินผัก
10. มีความอดทน
11. เคี้ยวอาหารช้าๆ
12. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

บทที่ 8 สมรรถภาพทางกาย

    ความสำคัญของการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย
1. ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
2. การทำงานของอวัยวะต่างๆมีการประสานกันดีขึ้น
3. ทำให้บุคลิกลักษณะดี
4. ป้อนกันการเกิดโรคต่างๆ

    ประเภทของสมรรถภาพทางกาย
1. สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการที่จะทำให้บุคคคลมีสุขภาพดี
2. สมรรถภาพทางกายเพื่อทักษะ หมายถึง ความสามารถของร่างกายที่ช่วยให้บุคคลสามารถประกอบ

กิจกรรมทางกายได้ดี

    วิธีทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ
1. การทดสอบคาวมอดทนของระบบไหลเวียนของเลือดและระบบหายใจ
2. การทดสอบคาวมแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ
3. การทดสอบความอ่อนตัว
4. การวัดส่วนประกอบของร่างกาย

    วิธีการสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ
1. การออกกำลังกาย
   1.1 การเตรียมตัวก่อนออกกำลังกาย
   1.2 ปฏิบัติตามหลักการออกกำลังกาย
2. การพักผ่อน
3. การกินอาหาร
4. กิจกรรมนันทนาการ

บทที่ 9 การปฐมพยาบาล

    ความหมายของการปฐมพยาบาล คือ การช่วยเหลือเบื้องต้นโดยรีบด่วยแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บหรือ

เจ็บป่วยอย่างกระทันหัน เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและทำให้ได้รับอันตรายน้อยที่สุด

    ความสำคัญของการปฐมพยาบาล
1. การปฐมพบาบาลเป็นการช่วยรักษาชีวิตของผู้รับบาดเจ็บและผู้ป่วย
2. การปฐมพยาบาลช่วยป้องกันไม่ให้ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยมีสภาพหนักกว่าเดิม
3. การปฐมพยาบาลเป็นการทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน

    หลักทั่วไปในการปฐมพบาบาล
1. ในสถานที่ที่มีผู้ได้ได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยให้ผู้ปฐมพบาบาลสังเกตสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ไม่ควร

ให้คนมุงแน่นและไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
2. ประเมินสภาพแวดล้อมรอบๆที่เกิดเหตุว่าปลอดภัยหรือไม่ จึงเข้าไปช่วยเหลือ
3. หากประเมินแล้วว่าไม่สามารถช่วยเหลือผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผูบาดเจ็บได้ตามลำพัง ให้ติดต่อขอความ

ช่วยเหลือจากผู้อื่น
4. จัดท่าให้ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆ ในท่าที่สบายหรือท่าที่เหมาะสมแก่การปฐมพบาบาลแลพบอก

ให้ทราบว่าผู้ปฐมพบาบาลจะดำเนินการช่วยเหลือ
5. ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยว่าได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลเร่งด่วนมาก

น้อยหรือไม่
6. ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู่ป่วยต้องกำหนดให้ถูกต้องว่าจะยก เคลื่อนย้ายเพื่อส่งต่อในลักษณะใด

    สถานการณ์ที่ต้องให้การปฐมพบาบาล
1. หมดสติ
2. เลือกออก
3. กระดูกหัก

    วิธีการปฐมพบาบาลคนเป็นลม
สาเหตุของการเป็นลม
1. ร่างกายอ่อนเพลีย
2. ขาดอากาศบริสุทธิ์
3. เกิดจากอารมณ์
4. มีบาดแผลเสียเลือดมาก

อาการ
1. อาการที่ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยบอก เช่น วิงเวียนศีรษะ ตาพร่า หน้ามืด
2. อาการที่สังเกตเห็นได้ เช่น ปากซีด หน้าซีด ตัวเย็น

การปฐมพบาบาลคนเป็นลม
1. ห้ามให้คนมุงดู
2. ให้นอนราบ
3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม
4. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้าผาก

วิธีปฐมพบาบาลบาดแผล
1. แผลปิด - เป็นแผลที่ไม่มีการฉีดขาดของเยื่อ แต่มีการฉีกขาดของเยื่ยอยู่ภายใต้ผิวหนัง
ให้ประคบเย็นในช่วง 24 ชั่งโมง เพื่อให้หลอดลือดบริเวณนั้นหดตัว จะได้ไม่มีเลือด แล้วพันผ้าให้แน่นพอ

สมควร ห้ามนวดเพราะจะทำให้หลอดเลือกฉีกขาด
2. แผลเปิด เป็นแผลที่ผิวหนังฉีกขาดมีเลือดออก
   - แผลถลอกให้ล้างแผลให้สะอาด เช็ดแผลให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ
   - แผลฉีดขาด ให้ปิดแผลด้วยผ้าสะอาดและกดแผลให้แน่นเพื่อห้ามเลือด
   - แผลถูกแทง ให้ปิดปากแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
   - แผลถูกของแหลมทิ่ม ให้ดึงออกปิดปากแผลด้วยผ้าสะอาด
   - แผลถูกไฟไหม้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งปิดแผลไว้ช่วยลดอาการปวด
   
    บาดแผลถูกแมลงกัดต่อย
- รีบเอาเหล็กในออก
- ประคบด้วยความเย็น
- ใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นด่างอย่างอ่อนชุบสำลีทาบริเวณที่ถูกต่อย

บทที่ 10 การเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย

    หลักการทั่วไปในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย
1. ควรมีความรู้เข้าใจ
2. ต้องระลึกอยู่เสมอว่าการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่ไม่ถูกวิธีและไม่ระมัดระวังอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ
3. ต้องตัดสินใจเสียก่อนว่าควรใช้การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยด้วยวิธีใด
4. เคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวังที่สุด 3
5. ก่อนเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บต้องตรวจดูอาการผู้บาดเจ็บเสียก่อน
6. ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บด้วยวิธีฝดก็ตาม ผู้ช่วยเหลือจะต้องดูให้รอบคอบเหมาะสมกับเหตุการณ์
7. ขณะทำการเคลื่อย้ายผู้บาดเจ็บจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
8. ถ้าผู้รับบาดเจ็บได้รับอุบัติเหตุร้ายแรง ควรรีบเคลื่อนย้ายแล้วนำผู้บาดเจ็บนำส่งให้ถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุด
9. การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง
10. ต้องเลือกวิธีการเคลื่อนย้ายที่เหมาะสมกับอาการบาดเจ็บ
11. ถ้าอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงอันตรายต้องรีบย้ายผู้บาดเจ็บออกมาจากที่ประสบเหตุให้เร็วที่สุด

บทที่ 11 สารเสพติด

    สารเสพติด คือ สารเคมีหรือวัตุชนิดใดๆซึ่งเสพเข้าสู่ร่างกายด้วยการกิน ดม สูบ ฉีด แล้วทำให้เกิดอันตายต่อร่างกายและจิตใจ

    ประเภทของสารเสพติด
1. แบ่งตามแหล่งที่เกิด
   1.1 ยาเสพติดธรรมชาติ คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช
   1.2 ยาเสพติดสังเคราะห์ คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี
2. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
   2.1 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 ได่แก่ เฮโรอีน
   2.2 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2 ยาเสพติดปะเภทนี้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ได้
   2.3 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3 ยาเสพติดประเภทนี้มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 ผสมอยู่ จะมีประโยชน์ทางการแพทย์
   2.4 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาให้โทษประเภทที่ 1 / 2
   2.5 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่ไม่อยู่ในข่ายยาเสพติดประเภทที่ 1 - 4
3. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
   3.1 ยาเสพติดประเภทกดประสาท
   3.2 ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท
   3.3 ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท
   3.4 ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน

    ลักษณะและอาการของผู้ติดสารเสพติด
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
1. สุขภาพทรุดโทรม
2. ริมฝีปากเขียวช้ำ
3. ตาไม่ค่อยสูู้กับแสงสว่าง
4. น้ำมูกไหล
5. ร่างกายมีร่องรอยการเสพติด
6. นิ้วมือ เล็บ จะมีคราบเหลือง ดำ
7. ง่วงเหงาหาวนอน หลับในห้องเรียนปล่อยๆ ซึมเหม่อลอย

การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม
1. เบื่อหน่ายการงานและการเรียน
2. ขาดความรับผิดชอบ
3. เสียบุคลิกภาพ
4. ชอบอยู่สันโดษ
5. ก้าวร้าว หงุดหงิด
6. กลับบ้านผิดเวลาเป็นประจำ
7. ใช้เงินเปลือง
9. มีอุปกรณ์เกี่ยวกัลยาเสพติด

    ความสัมพันธ์ของการใช้ยาเสพติดกับการติดโรค
1. การเสพยาบ้า มีผลต่อจิตใจชนิดหวาดแวง
2. การสูบบุหรี่ ทำให้เกิดโรคได้บ่อย คือ โรคถุงลมโป่งพอง
3. การเสพสารละเหย มีอาการระคายเคืองหลอดลม เยื่อบุจมูกมีเลือดออก
4. การดื่มสุรา ทำให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง

    แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
1. การปฏิบัติตนเพื่อป้อนกันไม่ให้ตัวเราใช้ยาเสพติด
   1.1 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
   1.2 ไม่ทดลองใช้ยาเสพติด
   1.3 แก้ไขปัญหาชีวิตในทางที่ถูก
   1.4 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
   1.5 การรักษาสุขภาพอนามัย
   1.6 มีทักษะปฏิเสธ
   1.7 มีทักษะในการดำเนินชีวิต
2. การสร้างบรรยากาศในครอบครัว
   2.1 สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
   2.2 รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง
   2.3 มีความประพฤติทั้งการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

    การดำเนินงานป้องกันยาเสพติดที่โรงเรียน
1. เราควรเข้าร่วมศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรยของยาเสพติด
2. ร่วมเป็นแกนนำนักเรียนและเยาวชนโรงเรียน
3. ชักชวนเพื่อนเข้ากลุ่มและเป็นสมาชิกตามโครงการทูบีนัมเบอร์วัน
4. แกนนำและสมาชิกเครือข่ายร่วมกันสำรวจปัญหา
5. แกนนำและสมาชิกร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนร่วมกันดำเนินการ
6. ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมธ์ / จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์
7. ปรึษาครูเพื่อประสานงานงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐ
8. ขยายการดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันสารเสพติด

บทที่ 12 เสี่ยงเสพติด

        สถาณการณ์เสี่ยงที่นำไปสู่การติดสารเสพติดเกิดจาก ปัจจัยหลายด้าน การเรียนรู้และฝึกทักษะต่างๆ ให้หลุดพ้นจาการใช้สารเสพติดจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทักษะสำคัญที่ต้องฝึกเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนห่างไกลสารเสพติดได้ การฝึกทักษะนักเรียนจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์มาใช้ในสถานการณ์ที่อาจ เกิดขึ้นแก่ตนเองและอาจช่วยเหลือเพื่อนให้สามารถหลีกเลี่ยงและปลอดภัยจากสาร เสพติด ส่งผลให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมส่วนรวมได้อย่างมีความสุข

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ค่านิยมทางเพศ

ในประเทศไทยมีความเป็นไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเฉพาะค่านิยมในเรื่องเพศซึ่งมีมุมมองได้2ทางดังนี้คือ


ค่านิยมทางเพศในเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำหรับคนไทยได้แก่
การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศหรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่บุตรหลานโดยคิดว่าเป็นเรื่องหยาบคายหรือน่าอาย
การไม่สนันสนุนหรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศอย่างเปิดเผย
การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสโดยถือว่าเพศชายไม่ผิด
ค่านิยมเหล่านี้ทำให้บุคคลในสังคมมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้องเช่นการเอาเปรียบเพศตรงกันข้ามเมื่อมีโอกาสความไม่เสมอภาคระหว่างเพศการดูถูกเพศตรงกันข้ามอันเป็นผลต่อความรักความผูกพันความสงบสุขในครอบครัวและสังคมโดยรวม

ค่านิยมทางเพศที่ดีของสังคมไทย
1.หญิงไทยมักจะรักนวลสงวนตัวไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน
2.ชายไทยไม่ควรสำส่อนทางเพศเพราะอาจเกิดผลเสียโดยการติดโรค
3.ชายไทยมีความรับผิดชอบต่อเพศหญิงไม่หลอกลวงไม่ข่มเหงน้ำใจ
4.ชายไทยรับผิดชอบต่อครอบครัว


วัยรุ่นในปัจจุบันควรมีเจตคติที่ดีว่าทั้งสองเพศมีความสำคัญเท่าเทียมกันการสร้างสรรค์สังคมจึงจะเกิดขึ้นค่านิยมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีและยังใช้ได้ในสังคมปัจจุบันวัยรุ่นจึงควรรักษาค่านิยมที่ดีไว้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาเช่นครอบครัวแตกแยกโรคทางเพศสัมพันธ์การตั้งครรภ์นอกสมรสการค้าประเวณีการสำส่อนทางเพศเป็นต้นหลักในการเลือกคู่ครองสภาพปัจจุบันชายและหญิงมักตัดสินใจเลือกคู่ครองด้วยตนเองดยไม่ขอคำปรึกษาจากพ่อแม่และญาติพี่น้องหรือผู้ใหญ่จึงทำให้ชีวิตมีทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลวได้หลักในการเลือกคู่ครองโดยทั่วไปพอสรุปได้ดังนี้
1.มีความรักเป็นพื้นฐานเพราะความรักเป็นการแสดงความรู้สึกถึงความผูกพันความหวงแหนความห่วงใยจึงมีความรักใคร่ในคู่ครองที่เราเลือกและควรเลือกคู่ครองที่รักเรา
2.มีสภาวะด้านต่างๆเหมาะสมเช่น
อายุควรอยู่ในเกณฑ์ที่บรรลุนิติภาวะแล้วชายควรมีอายุ25-30ปีฝ่ายหญิงควรมีอายุ20-25ปีมีความพร้อมทางร่างกาย
สุขภาพร่างกายารแต่งงานนั้นนอกจากมีความพร้อมทางร่างกายที่จะใหกำเนิดลูกได้แล้วควรจะต้องคำนึงถึงสุขภาพด้วยเช่นโรคประจำตัวโรคทางพันธุกรรมเพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อชีวิตสมรสได้ดังนั้นจึงมีควรตรวจสุขภาและถ้าพบว่ามีโรคภัยไข้เจ็บต้องรักษาให้หายเสียก่อน
วุฒิภาวะทางอารมณ์นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้ครองเรือนเพราะวุฒิภาวะทางอารมณ์จะเป็นผู้สุขุมรอบคอบมีเหตุผลมีความรับผิดชอบยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและสามารถปรับตัวได้ดี
ระดับสติปัญญาคู่สมรสควรมีระดับสติปัญญาใกล้เคียงกันเพราะหากสติปัญญาแตกต่างกันมักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง
คู่สมรสควรมีบุคลิกภาพและรสนิยมใกล้เคียงกัน
ศาสนาแต่ละศาสนาจะมีศาสนพิธีแตกต่างกันถ้าคู่สมรสต่างศาสนาควรมีการพูดคุยตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในพิธีกรรมของศาสนาแต่ละฝ่ายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในครอบครัว
วัฒนธรรมเป็นวิธีการดำเนินชีวิตสืบทอดกันมาวัฒนธรรมที่คล้ายกันย่อมปรับตัวเข้ากันได้ง่าย
ฐานะทางเศรษฐกิจต้องใกล้เคียงกันมีการวางแผนการจับจ่ายในครอบครัว